การแบ่งชนชั้นในสังคมอียิปต์

%e0%b8%ad%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%b4%e0%b8%9b%e0%b8%95%e0%b9%8c

 

สังคมอียิปต์ได้แบ่งชนชั้นออกเป็นต่างๆ เปรียบได้กับรูปสามเหลี่ยม สามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 3 ชนชั้นใหญ่ๆ และอาจแบ่งออกเป็นแต่ละชนชั้นย่อยๆ ได้ 6 ระดับ ดังนี้

ชนชั้น แบ่งเป็น 3 ชนชั้น ได้แก่

1. ชนชั้นสูง

– กษัตริย์และราชวงศ์ถูกกำหนดให้อยู่ในตำแหน่งสูงสุด กษัตริย์สามารถมีมเหสีและสนมได้มากมาย ที่อาจเป็นพี่สาวหรือน้องสาวร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน เพราะต้องการรักษาสายเลือดที่บริสุทธิ์ของชนชั้นไว้

– พระและขุนนาง มีบทบาททางด้านศาสนาและการปกครอง ชนทั้งสองกลุ่มนี้จัดเป็นชนชั้นสูงรองจากกษัตริย์

2.ชนชั้นกลาง

– พ่อค้า  เสมียน ช่างฝีมือและศิลปิน

3. ชนชั้นต่ำ

– พวกชาวนา ผู้ใช้แรงงาน ชาวนาซึ่งจัดเป็นชนชั้นต่ำส่วนใหญ่ของดินแดนสภาพของชาวนาอยู่ในรูปข้าติดที่ดิน ชาวนาเป็นกำลังสำคัญในกองทัพและเป็นแรงงานหลักในการสาธารณประโยชน์

– ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดถูกกวาดต้อนมาภายหลังพ่ายแพ้สงคราม

นอกจากจะแบ่งเป็น 3 ชนชั้นใหญ่ๆ แล้ว อาจแบ่งผู้คนในสังคมเป็นกลุ่มย่อยได้ 6 ระดับ ดังนี้

1. กษัตริย์ (pharaoh) มีอำนาจสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทพ หรือสมมติเทพ

2. คณะสงฆ์ (priests) เป็นผู้ช่วยของฟาโรห์ในด้านการศาสนา ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ

3. ขุนนาง (nobles) หรือผู้ว่าการมณฑลหรือโนมาร์ซ (Nomarch) เป็นขุนนางที่ฟาโรห์ไว้พระทัย แต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงประจำตามมณฑลหรือเมืองที่ห่างไกลจากเมืองหลวง มณฑลหรือเขตนั้นเรียกว่านอม

4. ช่างฝีมือและพ่อค้า (artists and merchant) พ่อค้าและช่างฝีมือมีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายกว่าชาวนา

5. ชาวนา (farmers) มีความเป็นอยู่อย่างยากแค้น เป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับชนชั้นอื่นๆ

6. ทาส (slaves) จัดอยู่ในชนชั้นต่ำที่สุดของสังคมอียิปต์ มีหน้าที่หาวัตถุดิบทุกอย่างเท่าที่มีอยู่ในประเทศ เช่นหนังสัตว์