การใช้เทคโนโลยีกับวิธีการสร้างมหาพีระมิดแห่งกิซ่า

วิธีการยกแท่งหินขนาดใหญ่หนักหลายสิบตัน เพื่อประกอบขึ้นเป็นพีระมิดอย่างแม่นยำยังเป็นปริศนา โครงสร้างเหนือห้องเก็บโลงพระศพ ในพีระมิดคีออปส์ ประกอบขึ้นด้วย แท่งหินแกรนิตสีแดงขนาดใหญ่หลายสิบแท่งซ้อนทับกัน 5 ชั้น แต่ละแท่งมีน้ำหนัก 50 ถึง 70 เมตริกตัน แท่งหินขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในหมู่พีระมิดกิซ่าอยู่ภายในวิหารข้างพีระมิดเมนคีเรเป็นแท่งหินปูนที่มีน้ำหนักมากถึง 200 เมตริกตัน เป็นน้ำหนักประมาณเท่ากับชิ้นส่วนหนักที่สุดภายในเรือไททานิค ซึ่งไม่มีปั้นจั่นใดๆ ในอู่ต่อเรือขณะนั้นสามารถยกได้ จนผู้สร้างเรือต้องว่าจ้างทีมงาน ชาวเยอรมัน มาสร้างปั้นจั่นยักษ์สำหรับยกชิ้นส่วนดังกล่าว

เฮโรโดตุส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งเดินทางไปอียิปต์ช่วง 450 ปีก่อนคริสตกาล หรือประมาณ 2 พันปีเศษหลังจากพีระมิดสร้างเสร็จ ได้บันทึกคำบอกเล่าของนักบวชชาวอียิปต์โบราณไว้ว่า ในการสร้างพีระมิดชาวอียิปต์โบราณมีอุปกรณ์บางอย่างทำด้วยไม้ใช้สำหรับยกหินขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามไม่พบหลักฐานอื่นๆ ที่อ้างอิงถึงเครื่องมือนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด หรือบันทึกโบราณ เฮโรโดตัสยังได้บันทึกไว้ว่าการก่อสร้าง พีระมิดคูฟู ทำเฉพาะช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งประชากรว่างจากการเพาะปลูก นั่นคือ ประมาณปีละ 3 – 4 เดือน และก่อสร้างอยู่ 20 ปี จึงแล้วเสร็จ

เนื่องจากเทคโนโลยีในขณะนั้นยังไม่มีระบบปั้นจั่นไม่รู้จักแม้กระทั่งล้อเลื่อน และไม่มีหลักฐานการใช้พาหนะที่ลากด้วยแรงสัตว์ การเคลื่อนย้ายหินจึงใช้แรงงานคนลากเข็นไปบนแคร่ไม้ โดยมีการราดน้ำเพื่อช่วยลดแรงเสียดทาน การเคลื่อนย้ายวัตถุน้ำหนักมากๆ ด้วยวิธีนี้มีหลักฐานเป็นภาพแกะสลักนูนต่ำบนฝาผนังหิน ซึ่งแสดงการเคลื่อนย้ายเทวรูปหินขนาดใหญ่ด้วยแรงคนนับร้อย

วิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้างในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างการก่อสร้างคืออีกส่วนหนึ่งที่เป็นปริศนา แนวคิดแรกเริ่มเชื่อกันว่าชาวอียิปต์โบราณใช้วิธีสร้างทางลาดบริเวณด้านข้างของพีระมิด และชักลากหินขึ้นตามทางลาดที่ก่อสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูงของระดับการก่อสร้างจนถึงจุดสูงสุดยอด และเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จจึงทำการรื้อทางลาดดังกล่าวออกคงเหลือไว้แต่ พีระมิด ที่สร้างเสร็จ ถ้าแนวคิดนี้เป็นจริงสิ่งก่อสร้างใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้นอาจไม่ใช่พีระมิดคูฟู แต่อาจเป็นทางลาดสูงเท่าตึก 40 ชั้นที่ใช้ก่อสร้างพีระมิดแทน มีแนวคิดอื่นๆ เสนอว่าทางลาดดังกล่าวอาจไม่ได้สร้างอยู่ด้านใดด้านหนึ่งข้างพีระมิด แต่อาจสร้างเป็นทางวนรอบพีระมิดแทน หรืออาจบางทีแต่ละชั้นของพีระมิดนั่นเองคือทางที่ใช้ชักลากหินขึ้นสู่ชั้นถัดไป ผ่านทางลาดขนาดเล็กที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างแต่ละชั้น

แม้จะยังไม่มีข้อสรุปถึงวิธีการลำเลียงหินขึ้นสู่บริเวณก่อสร้าง แต่การประกอบหินแต่ละก้อนสามารถสรุปได้ว่าผ่านการตัดแต่งแบบก้อนต่อก้อน เนื่องจากแต่ละก้อนต้องมีขนาดและแง่มุมพอดีกับหินก้อนอื่นๆที่จัดเรียงไว้ก่อนหน้า เพราะในการก่อสร้างพีระมิดไม่มีการใช้วัสดุเชื่อมประสาน หินแต่ละก้อนวางซ้อนกันอยู่ได้ด้วยน้ำหนักกดทับด้านบน และระนาบที่เท่ากันในแต่ละชั้นจึงต้องตัดแต่งอย่างปราณีตแบบก้อนต่อก้อนก่อนประกอบเข้าสู่ตำแหน่ง

ด้วยเครื่องมือง่ายๆ อย่างไม้วัดระดับแนวราบ และสายดิ่งที่ใช้ตรวจสอบผิวหน้าหินในแนวตั้ง โดยใช้ลิ่มหินควอตซ์ (Quartz) ซึ่งเป็นหินอัคนีความแข็งสูงในการขัดแต่งผิวหน้าของหินแต่ละด้านให้เรียบ ช่างหินอียิปต์โบราณสามารถสร้างผลงานดีเยี่ยม จนผิวสัมผัสระหว่างหินแต่ละก้อนห่างกันเพียง 0.02 นิ้วเท่านั้น

ควรทราบอีกว่า ณ เวลานั้นโลกยังไม่เข้าสู่ ยุคเหล็ก โดยที่เทคโนโลยีการตีเหล็กยังไม่ถูกพัฒนาขึ้นจนกว่าอีก 1 พันปีต่อมา เครื่องมือโลหะที่มีใช้ในสมัยนั้นทำด้วย ทองแดง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายหากต้องการตัดหินปูนและหินแกรนิตให้ได้ขนาดและรูปทรงตามต้องการ ผู้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยียุคโบราณเชื่อว่า ช่างอียิปต์โบราณใช้ แท่งโลหะพันด้วยเชือก เพื่อหมุนปั่นแท่งโลหะเจาะรูลึกในก้อนหินโดยมีการโรยผงทรายลงในรูที่เจาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือ

วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ของประเทศอียิปต์

มนุษย์รู้จักรักษาตัวมาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยสัญชาติญาณแห่งการธำรงไว้ซึ่งความอยู่รอดของตนเองได้มีอยู่ในตัวของมนุษย์ตั้งแต่เกิดมีมนุษย์มาในโลกนี้ การสาธารณสุขในยุคดั้งเดิมนี้ก็มีอยู่บ้าง แต่ส่วนมากจะเน้นด้านการแพทย์ ในยุคนี้คนเชื่อว่าโรคเกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ การที่มนุษย์จะพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บได้ก็โดยการเซ่นไหว้ การบูชายันต์ เป็นต้น

ทุกสังคมของมนุษย์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถ้ามองย้อนไปในอดีต การรักษาโรคเริ่มแรกตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์พบในประเทศอียิปต์ ในสมัยอาณาจักรเก่าของอียิปต์มีหมอมากมาย และเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หมอฟัน หมอตา หมอเกี่ยวกับโรคท้องและลำไส้ ซึ่งได้เรียนรู้มาจากที่เก็บศพของฟาร์โรห์

ความรู้ทางการแพทย์ที่ตกมาถึงเราก็คือ บันทึกที่เขียนลงบนกระดาษพาไพรัส (เป็นกระดาษที่เก่าแก่ที่สุดของอียิปต์) ซึ่งมีมากกว่า 7 ม้วนทีชี้ให้เห็นถึงความรู้ทางการแพทย์ของอาณาจักรเก่าที่ต่อมาได้เป็นรากฐานของความรู้ในสมัยอาณาจักรกลางและอาณาจักรใหม่ พาไพรัส ที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตศักราชที่ได้กล่าวถึงการรักษาโรคสตรี และโรคเด็ก

สมัยโบราณ คือ ฮิปโปรเครตีส (hippocretes) เอมพรีโดคริส(Empedocles 490-430 ก่อนคริสตศักราช มีการตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นที่เกาะคอส (Cos) ฮิปโปรเครตีส (460-377 ก่อนศริสศักราช : ตำราชุดเกี่ยวกับการรักษาและงานวิจัยทางการแพทย์ (hippocretes collection)

– อริสโตเติล ( 384-322 ก่อนคริสศักราช) ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเจริญสูงสุดของโรมัน
ประมาณ ค.ศ. 20 มีตำราทางการแพทย์ชื่อ De Medicine เกิดขึ้นที่โรม เขียนโดย เซลซัส (Celsus)

– กาเลน (Galen) แพทย์ชาวกรีกผู้โด่งดังในกรุงโรมได้ทดลองทางสรีระศาสตร์ เขายอมรับวิธีการสอนทางการแพทย์ของฮิปโปรเครตีสและเอมพิโดครีส ในช่วงสมัยกลางจนถึงยุค
Renaissnce สู่ยุโรป ต่อมายุโรปได้กลายเป็นศูนย์กลางของความรู้ปละการค้นพบของเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข

จากการวางรากฐานโดยการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาในการศึกษาทางการแพทย์ของแพทย์ในอดีต ได้นำไปสู่การศึกษาค้นคว้าที่ลงลึก และซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ประจวบเหมาะกับเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ได้ช่วยสร้างเครื่องมือและสิ่งประดิษฐ์ที่เข้ามาช่วยในการอธิบายสิ่งที่ค้นพบมีน้ำหนักหน้าเชื่อถืออันเนื่องจากหลักฐาน ที่เห็นชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของวิทยาศาสตร์และการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อเกือบ 300 ปีที่ผ่านมา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขเกิดขึ้นจากการที่ มนุษย์มีปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การเจ็บป่วย และโรคระบาด เป็นแรงผลัดดันให้มนุษย์ต้องพยายามต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ยิ่งปัญหามากขึ้นเท่าไรแรงผลักดันที่จะต่อสู้ค้นหาวิธีการก็มากขึ้นเท่านั้น เราจะเห็นได้ว่ามนุษย์ได้มีความพยายามมาเรื่อยๆเพื่อหาวิธีการรักษาโรคต่างๆ รวมทั้งมีการศึกษาค้นคว้าและนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวินิจฉัยโรค

อารยธรรมระบอบการปกครองของประเทศอียิปต์


ระบอบการปกครอง จักรวรรดิ อียิปต์มีระบอบการปกครองที่มั่นคง ชาวอียิปต์ยอมรับอำนาจและเคารพนับถือฟาโรห์หรือกษัตริย์ของตนประดุจเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดังนั้นฟาโรห์จึงมีอำนาจเด็จขาดในการปกครองและบริหารประเทศทั้งด้านการเมือง และศาสนา โดยมีขุนนางเป็นผู้ช่วยในด้านการปกครอง และมีพระเป็นผู้ช่วยด้านศาสนา การที่ฟาโรห์มีอำนาจเด็จขาดสูงสุดทำให้อียิปต์พัฒนาอารยธรรมของตนได้ต่อ เนื่อง เพราะฟาโรห์สามารถสร้างสรรค์และพัฒนาความเจริญตามแนวนโยบายของตนได้เต็มที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่การเกษตรในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งด้วยการคิดค้นระบบชลประทาน การสร้างพีระมิดหรือสุสานขนาดใหญ่ไว้เพื่อเก็บศพของฟาโรห์ตามความเชื่อทางศา นาของชาวอียิปต์เรื่องโลกหลังความตายและการมีวิญญาณเป็นอมตะ และการคิดค้นปฏิทินเพื่อกำหนดฤดูกาลสำหรับการไถหว่านและเก็บเกี่ยว

อารยธรรมอียิปต์
ชนชาติอียิปต์โบราณตั้งถิ่นฐานในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนส์ เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน คริสต์ศักราช อารยธรรมอียิปต์ได้ให้ความรู้แก่มนุษยชาติมากมาย สืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด ทำให้ชาวอียิปต์คิดค้นการทำมัมมี่ศพเพื่อรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยและสร้างที่บรรจุศพอย่างแข็งแรง คือ ปิระมิด การสร้างปิระมิดต้องใช้กำลังคนจำนวนมากและใช้หลักการด้านกลศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสถาปัตยกรรมที่ล้ำยุค ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่สามารถให้คำตอบว่าคนสมัยโบราณสามารถทำได้อย่างไร
เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวอียิปต์โบราณได้ประดิษฐ์อักษรฮีโรกราฟิก (Hieroglyphic) ซึ่งเป็นอักษรภาพ ต่อมาอักษรภาพนี้ได้ดัดแปลงเป็นตัวเดโมติก (Demotic) ซึ่งใช้ในภาษากรีกปัจจุบัน ชาวอียิปต์โบราณสามารถคำนวณพื้นที่ของสี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้าและทรงกลม นอกจากนี้ชาวอียิปต์โบราณยังมีความรู้ด้านดาราศาสตร์อย่างดี และได้กำหนดปฏิทินของตนเอง โดยกำหนด 1 ปีมี 360 วัน และต่อมากำหนด 1 ปีมี 365 วัน โดยแบ่งออกเป็น 12 เดือน ความรู้ด้านชีวภาพของชาวอียิปต์โบราณ คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกายวิภาค และสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์สาขา ต่าง ๆ โดยเฉพาะจักษุแพทย์ ทันตแพทย์ และศัลยแพทย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่ชาวกรีกในสมัยต่อมา

ภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่มีความสามารถในการคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการความเจริญ ด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่จักรวรรดิอียิปต์ เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และฟิสิกส์ ได้ส่งเสริมความเจริญในด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ความรู้ด้านดาราศาสตร์ช่วยให้ชาวอียิปต์ประดิษฐ์ปฏิทินรุ่นแรกๆของโลก ความสามารถในการประดิษฐ์อักษรที่เรียกว่า “ไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphic) ทำให้เกิดการบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนาและฟาโรห์ และความเจริญทางการแพทย์ก็ทำให้ชาวอียิปต์สามารถคิดค้นวิธีผ่าตัดเพื่อรักษา ผู้ป่วย ตลอดจนใช้น้ำยารักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย (มัมมี่) ความเจริญเหล่านี้ทำให้สังคมอียิปต์เจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องหลายพันปี สามารถหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้ก้าวหน้าและเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกใน เวลาต่อมา

ปัญหาสังคมทางการเมืองของประเทศอียิปต์ทำให้เกิดพวกศาสนาหัวรุนแรงขึ้น

ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งทั้งกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและมอร์ซี่สัญญาว่า จะไม่เอาศาสนามายุ่งกับการเมือง และก็สามารถชนะเลือกตั้งมาอย่างชอบธรรม แต่ต่อมา ก็กลับดำเนินนโยบายต่าง ๆ ผลักดันอียิปต์ไปเป็นรัฐศาสนาแบบอิหร่านตามอุดมการณ์ดั้งเดิมของตน ใช้กฎหมายเล่นงานคนและสื่อที่ไม่ใช่ภราดรภาพมุสลิม คนคริสต์ และคนมุสลิมชีอะห์ จำกัดเสรีภาพและสถานะของผู้หญิง ให้พวกศาสนาหัวรุนแรงต่างประเทศเข้ามาเคลื่อนไหวในอียิปต์ เป็นต้น

กลุ่มภราดรภาพมุสลิมกับประชาชนอียิปต์ที่เป็นเสรีนิยม ที่เคยเป็นแนวร่วมกันโค่นล้มเผด็จการมูบารัค มาวันนี้จึงแตกหักกัน ประชาชนกลุ่มหลังออกมาชุมนุมขับไล่ประธานาธิบดีมอร์ซี่ ประกาศไม่เอารัฐศาสนาเรียกตัวเองว่ากบฏทามาร็อดพอฝ่ายกองทัพฉวยโอกาสรัฐประหารโค่นล้มมอร์ซี่ พวกทามาร็อดก็เฮ เชียร์ทหารกันใหญ่และเชื่อว่าทหารจะทำตามสัญญาที่จะคืนประชาธิปไตยให้แก่อียิปต์หลังจากจัดการกับพวกภราดรภาพมุสลิมแล้วพอพวกภราดรภาพมุสลิมระดมสรรพกำลังออกมาชุมนุมประท้วง ก็เจอทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือนทามาร็อด ภาพที่เราเห็นในข่าวจะเป็นทหารตำรวจลุยกระทืบ ลุยยิงพวกภราดรภาพมุสลิม แต่ยังมีการปะทะกันระหว่างพวกภราดรภาพมุสลิมกับพวกทามาร็อดด้วย ทั้งอิฐ หิน ท่อนไม้ เหล็ก ปืน ระเบิดปิงปอง ฯลฯ

คนภายนอกยากที่จะเข้าใจว่า ทำไมคนอิยิปต์จำนวนมากจึงเกลียดพวกภราดรภาพมุสลิมอย่างมาก เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศในตะวันออกกลาง คนอียิปต์มีลักษณะพิเศษคือ แยกศาสนาออกจากการเมือง คนอียิปต์ส่วนใหญ่ถือว่า ตนเป็น “อียิปต์” เช่น ภาคภูมิใจในประวัตีศาสตร์เก่าแก่ ในปิระมิดและสฟิงก์ของตน ขณะที่พวกคลั่งศาสนาจะเรียกร้องให้ทุบทิ้งให้หมด เพราะเป็น “วัตถุนอกศาสนา” ประเทศอียิปต์ยังมีชุมชนคริสเตียนที่ใหญ่มากและอยู่อย่างสันติกับคนมุสลิมมาอย่างดีนานเป็นพันปีแล้ว มุสลิมนิกายสุหนี่ส่วนใหญ่กับนิกายชีอะห์ก็อยู่กันดีมาตลอดเช่นกัน ขณะที่พวกภราดรภาพมุสลิมที่เป็นสุหนี่จะเกลียดทั้งพวกคริสต์และพวกชีอะห์ประเทศอียิปต์มีปัญหากับพวกคลั่งศาสนามานานหลายสิบปี บางครั้งก็รุนแรงมาก นายกรัฐมนตรีอิยิปต์ เคยถูกพวกคลั่งศาสนาลอบสังหารมาแล้วในปี 2491 แม้แต่ประธานาธิบดีซาดัต ก็ถูกลอบสังหารเมื่อปี 2524 โดยพวกอิยิปต์จิฮัด

ประเทศอียิปต์กับการปฏิรูประบบการเมืองและสังคม

อียิปต์เป็นดินแดนที่น่าพิศวงมากประเทศหนึ่ง คนทั่วไปมองว่าอารยธรรมอียิปต์มีความเชื่อที่เล้นลับแฝงอยู่มากมาย แต่ในขณะเดียวกันก็ซ่อนความเจริญด้านต่างๆ ไว้อย่างมากมายด้วยเช่นกัน เมื่อย้อนมาพิจารณาดูว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อียิปต์มีความรุ่งเรืองและถึงกับเป็นดินแดนที่น่าพิศวง ตลอดจนมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญมากมาย เช่น ปิรามิค วิหารขนาดใหญ่ เป็นต้น

ด้านสังคม ในอียิปต์แม้จะมีการแบ่งชนชั้น แต่ก็ไม่มีระบบชนชั้นที่ถาวร สังคมอียิปต์แบ่งประชาชนออกเป็นชนชั้นแต่ในสมัยจักรวรรดิมีทหารอาชีพขึ้นมา เมื่อฟาโรห์มีนโยบายจะขยายอำนาจและอาณาเขต และได้เชลยศึกมาเป็นทาสจำนวนมากจากการรบชนะ ทำให้อียิปต์มีชนชั้นเพิ่มอีก 2 ชนชั้น คือ ชนชั้นที่ 6 ทหารอาชีพ และชนชั้นที่ 7 ทาส

ทหารจะถูกเกณฑ์ไปทำงานในเหมืองหินและที่ดินของวัด ต่อมาก็ถูกเกณฑ์เป็นทหารและบ้างก็ไปรับใช้ฟาโรห์ ในอาณาจักรสมัยเก่า พระและขุนนางมีอำนาจมากอยู่ใต้ฟาโรห์ สมัยอาณาจักรกลาง สามัญชนเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง พ่อค้าและชาวไร่ชาวนา ได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐบาล การสร้างอาณาจักรมีผลทำให้เกิดขุนนางชนชั้นใหม่ขึ้นคือข้าราชการ

ขุนนางที่ร่ำรวยจะอาศัยอยู่ในบ้านตากอากาศที่หรูหราติดกับสวนที่มีกลิ่นดอกไม้ อาหารมีจำนวนหลากหลาย เช่น อาหารประเภทเนื้อ ไก่ ขนมต่างๆ ผลไม้ เหล้าองุ่นแฃะของหวานชนิดต่างๆ ภาชนะที่ใช้ทำด้วยอลาบาสาคอร์ ทองคำและเงินแต่งกายราคาแพงและประดับเพชรพลอยราคาสูง ตรงกันข้ามกัขชีวิตของคนยากจนที่น่าสงสาร บ้านของคนจนในเมืองนั้นจะแออัด สร้างด้วยโคลน ส่วนชาวนาที่อาศัยในทุ่งนาผืนใหญ่ จะอยู่ในบ้านที่ไม่แออัดเท่าในเมืองแต่มีชีวิตไม่สะดวกสบาย สถานภาพสตรีของชาวอียิปต์ ห้ามมีสามีภารยาหลายคน แม้แต่ฟาโรห์ซึ่งสามารถมีฮาเร็มที่มีสนมและนางบำเรอจำนวนมากอาศัยอยู่ แต่ฟาโรห์ก็มีมเหสีองค์เดียว สตรอียิปต์ยังไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของชายทั้งหมดทีเดียว ภรรยาจะไม่ถูกแบ่งแยกแต่สตรีสามารถมีกรรมสิทธิ์รับมรดกและประกอบธุรกิจได้

สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในอียิปต์ ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง หลังการประท้วงใหญ่นองเลือดเมื่อวันพุธที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 698 ศพ บาดเจ็บประมาณ 4,000 คน ฝ่ายสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด มอร์ซี ที่ถูกกองทัพยึดอำนาจ ประกาศจะเดินหน้าประท้วงต่อไป จนกว่ามอร์ซีจะได้อำนาจกลับคืน อียิปต์ขัดแย้งกันทางการเมือง ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนคู่กรณีหลักคือกองทัพ กับกลุ่มผู้สนับสนุนมอร์ซี กองทัพอียิปต์เป็นสถาบันที่แข็งแกร่ง และควบคุมเศรษฐกิจราว 35–40% ของประเทศ นักวิเคราะห์มองว่า กองทัพจะควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ความรุนแรงนองเลือดอาจจะยืดเยื้ออีกนานหลายเดือน หรือหลายปี แล้วท้ายสุดทั้ง 2 ฝ่ายก็จะหันหน้าเข้าหากัน และพยายามบรรลุข้อตกลง

การประท้วงผ่าน Internet และ Social Network มีเป้าหมายทางการเมืองของอียิปต์

การประท้วงผ่าน Internet และ Social Network มีเป้าหมายทางการเมืองของอียิปต์

ความวุ่นวายทางการเมืองในตะวันออกกลาง เริ่มส่อเค้าตั้งต้นในตูนิเซียเมื่อปลายปี 2553 ที่ผ่านมา เนื่องจากภายใต้การปกครองในระบบเผด็จการทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง เมื่อราคาอาหารและพลังงานพุ่งสูงขึ้น จึงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจนอยู่แล้ว จนก่อให้เกิดการประท้วงในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ปัญหาความวุ่นวายเริ่มลามจากตูนิเซียไปยังประเทศใกล้เคียงคือ อัลบาเนีย และแอลจีเรีย แม้ว่าใน 2 ประเทศหลังจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ในกรณีของตูนิเซีย ผู้นำประเทศได้ลาออกในวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา การประท้วงดังกล่าวกลายเป็นตัวอย่างให้ประชาชนหลายประเทศในตะวันออกกลางทำตาม การประท้วงจึงลุกลามไปยังประเทศ จอร์แดน โอมาน เยเมน เลบานอน และเกิดการประท้วงสั้นๆ ในซาอุดีอาระเบีย จนกระทั่งในที่สุดเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในอียิปต์ ซึ่งส่งผลให้ประธานาธิบดีต้องลาออกในที่สุด นับว่าเป็นสิ่งผิดความคาดหมาย เนื่องจากประธานาธิบดีมูบารัค ปกครองอียิปต์และครองอำนาจเบ็ดเสร็จเต็มที่มาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี  จากอียิปต์เหตุการณ์ยังได้ลุกลามไปอีก 2 ประเทศคือ ปาเลสไตน์ และโมร็อกโก

ประเด็นหลักที่คนส่วนใหญ่กังวลคือ ปัญหาอาจจะลุกลามไปยังประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในตะวันออกกลาง ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน คูเวต สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิรัก แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีวี่แววว่าปัญหาจะลุกลามไปยังประเทศเหล่านี้ มีเพียงการประท้วงในซาอุดีอาระเบีย แต่ไม่รุนแรงและในช่วงสั้นๆ เท่านั้น สาเหตุหลักก็คือ ประเทศเหล่านี้ (ยกเว้นอิรัก) เป็นประเทศที่ร่ำรวยจากการขายน้ำมัน โดยเฉพาะคูเวตและสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดังนั้น รัฐบาลจึงสามารถดูแลปัญหาปากท้องของประชาชนได้ ซึ่งต่างจากประเทศที่การประท้วงเกิดจากปัญหาความยากจน การว่างงาน และถูกซ้ำเติมจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น ส่วนในอิรักนั้น เนื่องจากยังมีปัญหาในตัวเองที่ซับซ้อน จึงทำให้โอกาสที่จะเกิดการต่อต้านรัฐบาลเหมือนอียิปต์มีน้อยมาก ดังนั้น โอกาสที่วิกฤติจะลามไปประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นๆจึงไม่สูงนักอย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในอียิปต์ก็ยังมีความไม่แน่นอนสูง แม้ว่าประธานาธิบดีมูบารัคได้ลาออกจากตำแหน่งและผู้นำทางการทหารของอียิปต์ได้ให้คำมั่นว่าจะจัดการเลือกตั้งที่ยุติธรรมให้เร็วที่สุด แต่ทว่าสถานการณ์ทางการเมืองทั้งในและต่างประเทศยังมีความสับสนและเปราะบางมาก กรณีสถานการณ์ภายในประเทศนั้น ในกลุ่มผู้ประท้วงเองมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งผมขอแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มชนชั้นกลางมีการศึกษา ซึ่งเป็นแกนกลางในการจัดการประท้วงโดยผ่านระบบ Internet และ Social Network มีเป้าหมายให้การปกครองของอียิปต์เป็นแบบมุสลิมประชาธิปไตยเหมือนตุรกี กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มภราดรภาพของชาวมุสลิม หรือ  The Muslim Brotherhood ซึ่งเป็นองค์การเก่าแก่ จัดตั้งในปี 2471 และมีสาขาหลายแห่งในโลก แม้ว่าจะไม่ใช่กลุ่มหัวรุนแรงแต่ก็มีแนวโน้มและเป้าหมายที่จะนำประเทศไปสู่แนวทางของอิสลาม ถึงแม้ทางกลุ่มประกาศว่าจะไม่ส่งตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเร็วๆนี้ แต่แกนนำกลุ่มก็สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในนามผู้สมัครอิสระได้ กลุ่มสุดท้ายก็คือประชาชนทั่วไปที่ยากจนและได้รับความเดือดร้อนจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งไม่ได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองใดๆ